ประกาศสำนักงานป
The post ประกาศสำนักงานป...
รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ ครั้งที่ 43/2567 นำ “บุรีรัมย์โมเดล” แก้ปัญหาเด็กหลุดระบบการศึกษา ควบคู่การดำเนินงานของรัฐบาล พร้อมเดินหน้ายกระดับการขับเคลื่อนโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) พัฒนาการอบรมข้อสอบในระดับพื้นที่
18 ธันวาคม 2567 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการประชุมประสานภารกิจ กระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 43/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom meeting
รมว.ศธ. เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA สพฐ.ได้ขยายผลการอบรมการสร้างและพัฒนาข้อสอบฯ ในระดับเขตพื้นที่ทุกรุ่น จำนวน 245 เขตพื้นที่ ซึ่งสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ ได้จัดอบรมครบถ้วนแล้ว 715 คน ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาที่ดำเนินการครบทั้ง 100% แล้ว ได้แก่
อีกทั้ง สสวท. ได้มีแนวทางการขับเคลื่อนตามกิจกรรมที่ 8 และ 9 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน ในปีการศึกษา 2568 พร้อมหารือร่วมกับสภาการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวทางการประเมิน PISA
นับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการดำเนินงานสำหรับแนวทางขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็ง และเป็นตัวอย่างที่ดีในการเตรียมความพร้อมการสร้างข้อสอบให้เป็นมาตรฐานสากลทัดเทียมสากล ขอชื่นชมหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินงานเป็นมิติที่เราก้าวเดินไปด้วยกัน สอดคล้องนโยบาย “จับมือไว้ แล้วไปด้วยกัน”
สำหรับรายงานการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ (THAILAND Zero Dropout) ศธ.ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษา ได้มีการดำเนินงาน “ซ้ำเสริม” คือทำงานควบคู่กันกับรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งทำในภาพรวม โดยนายสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัด ศธ.เป็นหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อนทุกมิติร่วมกัน
ในการนี้ ได้มอบหมายให้กรมส่งเริมการเรียนรู้ลงพื้นที่จัดทำ “บุรีรัมย์โมเดล” ซึ่งได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากในรายงานผลสำรวจเด็กนอกระบบในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จากฐานข้อมูลในระบบพบว่ามีเด็กหลุดออกนอกระบบทั้งหมด 4,390 คน แบ่งเป็น พบตัว 1,379 คน ไม่พบตัว 3,011 คน ซึ่งเด็กจำนวนหนึ่งมีสาเหตุจากความไม่พร้อมทางร่างกายและปัจจัยอื่นร่วมด้วย และจะขยายความร่วมมือเชื่อมไปยังกระทรวงสาธารณสุขในการตรวจสอบฐานข้อมูลเด็กที่บกพร่องทางร่างกายจนขาดโอกาสทางการศึกษา ให้เกิดเป็นกระบวนการทำงานเชิงบูรณาการมากยิ่งขึ้น
สำหรับการติดตามของ สพฐ. ได้รายงานการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษากลับเข้ามาเรียน ในโครงการพาน้องกลับมาเรียน นำการเรียนไปให้น้อง โดยสามารถนำกลับเข้าระบบการศึกษา 22,086 คน (จากเด็กที่ติดตามแล้ว 117,802 คน) และยังไม่กลับเข้าระบบการศึกษา 95,716 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่เข้าสู่ระบบให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการทำงานที่เต็มศักยภาพ
ทางด้าน สอศ. มีการรายงานการลงพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้ข้อมูลเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาครบถ้วนในภาพรวมทั้งจังหวัดแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ รมง.ศธ.จึงมีข้อสั่งการให้ลงพื้นที่ต่อเนื่องอีก 15 วัน เพื่อเชื่อมต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นในการช่วยเหลือ เพื่อตอบโจทย์ zero dropout อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของ สกศ. ได้เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ที่มีเป้าหมาย “ลดจำนวนเด็กหลุดออกนอกระบบให้เป็นศูนย์” ภายในปี 2570 ภายใต้ยุทธศาสตร์ค้นหาและติดตาม มีมาตรการแก้ไข และพัฒนากลไกสนับสนุน
ส่วนเด็กนอกระบบการศึกษาในสังกัด สช. ที่ย้ายสถานศึกษาแล้วยังไม่ได้รับรองวุฒิ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำระเบียบว่าด้วยทะเบียนนักเรียนโรงเรียนเอกชนเพื่อให้เด็กสามารถเรียนต่อได้อย่างต่อเนื่อง และจะขับเคลื่อนในช่วงหลังปีใหม่ต่อไป
“จังหวัดบุรีรัมย์มีความพร้อมในการทำงานเชิงบูรณาการ เห็นได้ชัดเจนในทุกมิติในการพัฒนาความร่วมมือกับทุกภาคส่วน และภาคเอกชนในพื้นที่ก็ยินดีสนับสนุนด้านการศึกษา รวมถึงศึกษาธิการจังหวัดก็ทำงานสอดประสานกับคณะรัฐบาลได้เป็นอย่างดี” รมว.ศธ. กล่าว
พบพร ผดุงพล / ข่าว
อินทิรา บัวลอย , ศศิวัฒน์ แป้นคุ้มญาติ / ภาพ
ธรรมนารี ชดช้อย / กราฟิก