26 กรกฎาคม 2567 / นายสุเทพ แก่นสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้ นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ

นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีสำหรับความสำเร็จของนิสิต นักศึกษา ทั้ง 3 แห่ง พร้อมทั้งชื่นชมความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยในการพัฒนาเยาวชนไทยให้มีโอกาสเรียนรู้ด้านระบบการบริหารงานขององค์กรญี่ปุ่น แผนธุรกิจ (Business Model) ตลอดจนวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต และได้เน้นย้ำแนวความคิด “คืนสู่สังคม” ตามที่นายฮิโรยาสุ ซาโต้ (Mr.Hiroyasu Sato) ประธานส่วนการศึกษา คณะกรรมการฝ่ายความช่วยเหลือสังคม หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท มิตซูบิชิ (ประเทศไทย) จำกัด โดยหวังว่านิสิต นักศึกษาจะสามารถนำความรู้ที่ได้จากโครงการนี้ไปใช้ได้อย่างเต็มที่ และเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้นี้กลับคืนสู่สังคม

สอดคล้องกับนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมุ่งหวังให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข พร้อมพัฒนาสังคมไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าในอนาคต ทั้งนี้ในโอกาสต่อไป กระทรวงศึกษาธิการพร้อมสนับสนุนและให้ความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาและการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อมีส่วนร่วมในโครงการ/กิจกรรมของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ และสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้แก่สังคมไทยและสืบสานมิตรภาพที่ดียิ่งขึ้นระหว่างประเทศไทยกับญี่ปุ่น

สำหรับโครงการ The Comprehensive Course in Japanese Business Innovation ในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นปีที่ 9 โดยความร่วมมือของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC) และสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เพื่อให้นักศึกษาไทยที่สนใจเข้าทำงานร่วมกันกับองค์กรญี่ปุ่นในประเทศไทย มีความเข้าใจในวัฒนธรรมการทำงานแบบญี่ปุ่นเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่วิถีการทำงานจริงได้อย่างราบรื่น โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันการศึกษา จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในการนี้ รองปลัด ศธ. นายฮิโรยาสุ ซาโต้ นางสาววันเพ็ญ บุรีสูงเนิน ศธจ. 8 รก.ผตร.ศธ. พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลงานในการแข่งขันนำเสนอผลงานในโครงการฯ ภายใต้หัวข้อ “Upcycling the Eco-Friendly Products & Services” นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มาจากการ upcycle  โดยในปีนี้มีผู้เข้าแข่งขันซึ่งประกอบด้วยตัวแทนที่ผ่านการคัดเลือกจากแต่ละมหาวิทยาลัย ๆ ละ 2 ทีม รวมทั้งสิ้น 6 ทีม รางวัลชนะเลิศ คว้าเงินสด 50,000 บาท พร้อมทัศนศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ ทีม ECOFORCE จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ด้วยผลงานผลิตภัณฑ์ “BeeEco รังเลี้ยงผึ้ง” โดยใช้วัสดุรีไซเคิลมากกว่าร้อยละ 95 ที่ผลิตจากซังข้าวโพดและถุงขยะพลาสติกชนิด HDPE

คณะทำงานรองปลัด ศธ. / ภาพ-ข่าว
อานนท์ วิชานนท์ / เรียบเรียง

The post รองปลัด ศธ. “พิเชฐ” กระชับความสัมพันธ์การศึกษาไทย – ญี่ปุ่น พร้อมชูแนวคิด “เผยแพร่ความรู้ กลับคืนสู่สังคม” appeared first on กระทรวงศึกษาธิการ.

Share This Article

Related Post