เสมา 2 เยือนถิ่นก
จังหวัดกาฬสินธุ์ – 22...
2 พฤษภาคม 2567 – พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ประชุมรายงานความก้าวหน้าของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ดังนี้
1. คณะกรรมการขับเคลื่อนบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสร้างจิตสำนึกความเป็นไทย กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ประชุมเห็นชอบ นโยบาย ทิศทาง กรอบแนวทางการขับเคลื่อนตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ สร้างจิตสำนึกความเป็นไทยกระทรวงศึกษาธิการ รายละเอียดกิจกรรมและมอบหมายผู้รับผิดชอบ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัยเข้าใจและภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทย มีรากฐานจิตสำนึกรักความเป็นไทย มีคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และหลักคิดที่ถูกต้องต่อชาติบ้านเมืองและสถาบันสำคัญของชาติ เป็นพลเมืองที่ดี
ที่ประชุมเห็นชอบ แนวทางการด้านการดำเนินงานของบุคคลและหน่วยงานภายนอกที่เข้าจัดกิจกรรมในสถานศึกษา ที่มีผลต่อหลักคิดที่ถูกต้องต่อชาติบ้านเมืองและสถาบันหลักของชาติ มีการจัดทำข้อกำหนดและเงื่อนไขการจัดกิจกรรม จัดทำคู่มือหรือเอกสารแนะนำที่ชัดเจน รวมถึงกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลและสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
ที่ประชุมเห็นชอบ แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีไหว้ครูและขับเคลื่อนสู่การเป็น Soft Power ของชาติ โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาดำเนินการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่นักเรียนและนักศึกษาเกี่ยวกับ พิธีไหว้ครู รวมถึงส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา เพื่อสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
2. คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษา
ขณะนี้อยู่ระหว่างดําเนินการขอจัดสรรงบประมาณจัดเตรียมการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง การดําเนินการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับหน่วยงานราชการ และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง 13 หน่วยงาน และร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเตรียมการจัดทําโปรแกรมออนไลน์ “โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ” เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ อย่างเป็นรูปธรรม
3. คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการศึกษา “เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) จัดทําแพลตฟอร์ม และพัฒนาระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต
คณะทำงานด้านการพัฒนาระบบการศึกษา “เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกสื่อเทคโนโลยีสำหรับผู้เรียนระดับปฐมวัยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเรียนรู้เพื่ออาชีพและมีงานทำ เพื่อนำเข้าสู่ ดิจิทัลแพลตฟอร์มการจัดการเรียนรู้แห่งชาติ (NDLP)
คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพของกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรการป้องกันและเสริมสร้างความรอบรู้ อันตรายจากการเสพติดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สิ่งมึนเมา และยาเสพติดทุกประเภท พร้อมขับเคลื่อนระบบสุขภาพสถานศึกษาด้วยการบูรณาการความร่วมมือในระดับพื้นที่ เรียนดี มีความสุข คุณภาพชีวิตดี ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
คณะทำงานการขับเคลื่อนงานแนะแนว (Coaching) และเป้าหมายชีวิต ได้ดำเนินการพัฒนาเสริมพลังใจครูแนะแนวเพื่อการดูแลสุขภาพจิต การแนะแนวและการ Coaching นักเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และมีโครงการ “Fine MyFuture” แนะแนวการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม พร้อมศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบแนะแนวของประเทศไทย และจัดโครงการฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.)
4. คณะอนุกรรมการจัดทําระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate)และส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn) มีการดำเนินงาน ดังนี้
สกศ. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ. จัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการรับรองคุณวุฒิ พร้อมขอเพิ่มอัตราเงินเดือนสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง และขอเทียบคุณวุฒิระดับ ม.ปลาย และทักษะอาชีพ ให้เทียบเท่ากับระดับ ปวช. เพื่อใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน
สพฐ. ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามการรับนักเรียนในโครงการทวิศึกษาแนวใหม่ปีการศึกษา 2567 ผ่านระบบ DMC และอยู่ระหว่างช่วงโรงเรียนดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อเตรียมการส่งเสริมการจัดการการศึกษาทวีศึกษาปีการศึกษา 2567
สอศ. ประกาศใช้หลักสูตร สอศ. 2567 และอนุมัติหลักสูตร ปวช. และ ปวส. พ.ศ. 2567 ที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และมาตรฐานสากล ส่วนหลักสูตร ปวพ. กำลังดำเนินการรวบรวมผลการประชา พิจารณ์ (ร่าง) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ และสำหรับศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ได้ดำเนินการ ติดตามการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ทดสอบ, จัดทำบันทึกความเข้าใจความร่วมมือการพัฒนาแรงงาน, ประกาศและแจ้งหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติ, จัดกำระบบสืบค้นข้อมูลและฐานข้อมูลศูนย์กดสอบ, เชื่อมโยงนำระบบข้อมูลภายใต้แพลตฟอร์ม EWE และจัดทำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนจัดทำระบบ วัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ
สกร. ดำเนินการจัดทำร่างหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องด้านอาชีพให้เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ และจัดอบรมอาชีพเสริมในชุมชนทั่วประเทศ โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมจบแล้วมีงานทำ จำนวนทั้งสิ้น 27,205 คน
สช. การประชุมวิพากษ์หลักสูตรโรงเรียนนอกระบบที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ กลุ่มวิชาชีพเสริมสวยและตัดเย็บเสื้อผ้า และกลุ่มวิชาชีพบริบาล จำนวน 15 หลักสูตร
5. คณะอนุกรรมการจัดทําระบบการวัดผล เทียบระดับการศึกษา ประเมินผลการศึกษา และธนาคารเครดิตแห่งชาติ
ดำเนินการออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิต ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบการศึกษาในระบบ (สพฐ.), รูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สกร.) และรูปแบบการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาระบบทวิภาคี (สอศ.) พร้อมจัดทำคู่มือและออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล จัดทำหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินงานของแต่ละระดับการศึกษา ติดตามประเมินผลและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ และขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกองค์กร
6. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษา
เตรียมดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ในสถานศึกษาระหว่าง สป.ศธ. สพฐ. สอศ. สกร. และกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน รวมถึงจัดทำร่างประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนและนักศึกษา ตามนโยบายไม่ใช้ความรุนแรงหรือการกระทำที่สมควรแก่เหตุในสถานศึกษา และดำเนินการยกร่างระเบียบกระทรวงศึกษาธิการในการจัดทำทะเบียนนักเรียน และสมุดหมายเหตุรายวัน ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้มีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาแปลประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการให้มีสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปประเทศ โดยให้มีการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน เป็นการลดปัญหาการซ้ำซ้อนของข้อมูลจำนวนนักเรียนได้
7. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อรองรับวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ “IGNITE THAILAND” ของกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับแผนการดำเนินงานในระยะยาว ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการจะส่งเสริมการสร้างประสบการณ์ทางอาชีพร่วมกับภาคภาคประกอบการ ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน การสร้างโลกทัศน์และประสบการณ์ทางอาชีพ (Work Experience) ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีคุณภาพสูงในระดับอาชีวศึกษา พร้อมจัดหลักสูตร Up-skill Re-skill และ New skill ที่สอดคล้องกับ “IGNITE THAILAND” รวมทั้งขยายผลการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่สถานศึกษาทุกแห่ง
พบพร ผดุงพล / ข่าว
สมประสงค์ ชาหารเวียง , ณัฐพล สุกไทย / ภาพ
The post รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” จับมือผู้บริหาร ศธ. เดินเครื่องขับเคลื่อนนโยบายเข้มข้น หลุดพ้นกรอบเดิม เพิ่มเติมคุณภาพ appeared first on กระทรวงศึกษาธิการ.