จำนวนนักเรียน 10
The post จำนวนนักเรียน 10 ส...
เมื่อวันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567/ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 8/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
ฝ่ายเลขานุการฯ รายงานเรื่องสืบเนื่องการติดตามข้อสั่งการการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 7/2567 ดังนี้
1. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำข้อมูลรายละเอียดสถิติหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นระดับสี ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีขาว รวมทั้งสีดำ (ผู้ที่ไม่ให้ข้อมูล) และให้หน่วยงานดังกล่าวรายงานข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ (1) จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการแก้ไขปัญหา (2) วิธีการที่หน่วยงานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหา และ (3) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ โดยให้รายงานข้อมูลมายัง สป.ศธ. ภายในวันที่ 30 ของทุกเดือน เพื่อที่จะได้รวบรวมและนำเสนอ รมว.ศธ. ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นสถานีแก้หนี้ประจำจังหวัดโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กสร.จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัด สถาบันการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยให้ 1 จังหวัด มี 1 สถานีแก้หนี้ และให้มีสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกลาง เป็น model นำร่องการแก้ปัญหาหนี้ครู
2. สพฐ. ได้รวบรวมข้อมูล Infograpfic การสื่อสารสุขภาพจิตโรงเรียนเชิงรวม แบ่งเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และสถานศึกษา ทั้งในกลุ่มผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน เครือข่ายผู้ปกครอง และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในช่องทางต่าง ๆ อาทิ FB ศธ. 360 องศา กลุ่มไลน์ข่าว สพฐ. แฟนเพจ FB กลุ่มไลน์คณะทำงางานต่าง ๆ เครือข่ายครูแนะแนว มีผู้สนใจ และดาวน์โหลดนำไปใช้จำนวนมาก
3. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ประเมินผลการไปดูงานที่ประเทศจีนสามารถนำมาต่อยอดขยายผลได้หรือไม่ โดยได้วิเคราะห์การเทียบเคียงระบบคุณวุฒิของจีนกับกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน ในมิติที่คณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนกำหนด (อยู่ระหว่างรอฝ่ายเลขานุการฯ จากสำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำ) เพื่อจัดทำรายงานเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียนครั้งต่อไป
อีกทั้งได้นำข้อค้นพบจากการประชุมหารือความร่วมมือ และศึกษาดูงาน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน มาวางแผนการดำเนินงานในสถานศึกษาแต่ละระดับ พร้อมขยายผลความร่วมมือในการเทียบเคียงการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ผ่านการพัฒนาหลักสูตรทวิวุฒิ (เพิ่มจำนวนสาขาในระดับ ปวส. และขยายการพัฒนาหลักสูตรในระดับ ปวช.) ตลอดจนหารือความร่วมมือในการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ทันสมัย และสามารถเข้าถึงผู้เรียนได้ตามบริบทและความพร้อมของประเทศ
4. นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำรวจการใช้ไฟฟ้าในสถานศึกษาทั้งระบบ โดยรวบรวมข้อมูลทุกสถานศึกษาในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา แยกเป็นรายเดือนว่า มีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเท่าไร มีการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าหรือมีระบบโซล่าเซลใช้เอง ปริมาณไฟฟ้าจากโซล่าเซลได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไรมีการดำเนินการตามมาตรการประหยัดค่าไฟฟ้าหรือไม่ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการเจรจาปรับราคาค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการไฟฟ้าต่อไป
โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการลดภาระค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานและสาธารณูปโภคของกระทรวงศึกษาธิการมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ จัดการประชุมคณะกรรมการฯ ไปแล้ว 4 ครั้ง สรุปผลการดำเนินงาน โดยได้จัดทำแบบสำรวจข้อมูลค่าใช้จ่ายการใช้พลังงานและสาธารณูปโภคของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 5 รายการ ประกอบด้วยค่าไฟฟ้าและ Solar Cell ค่าประปาและน้ำดื่ม ค่าโทรศัพท์ ค่าไปรษณีย์และค่าบริการสื่อสารและโทรคมนาคม ค่าบริการInternet จากนั้นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป. นำข้อมูลจากการสำรวจเข้าระบบ (MS Power BI) และนำเสนอข้อมูลในภาพรวมด้วยรูปแบบ Dashboard จำแนกข้อมูลตามหน่วยงาน/สถานศึกษารายเดือน/ปี (ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี) และรายจังหวัดขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
ขณะเดียวกันได้ศึกษาแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงาน/สถานศึกษาที่มีการติดตั้งระบบ Solar Cell เพื่อพิจารณากำหนดแนวทาง/แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานซึ่งขณะนี้ สำนักนิติการ สป. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่างสัญญาการดำเนินงานในการติดตั้งระบบ Solar Cell เพื่อให้หน่วยงาน/สถานศึกษานำไปใช้ในการดำเนินงานต่อไป
5. คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อรองรับวิสัยทัศน์ การพัฒนาประเทศ “IGNITE THAILAND” ของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการปรับกระบวนการเรียนการสอนพัฒนาและยกระดับทักษะการผลิตกำลังคนให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมทั้ง 8 ด้าน โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้วิเคราะห์ช่องว่างระหว่างความต้องการกำลังคนภาคประกอบการ และการผลิตกำลังคนสถานศึกษา เพื่อกำหนดกลยุทธ์ ความต้องการกำลังคนของอุตสาหกรรมทั้ง 8 ด้าน Matching กับการผลิตและพัฒนากำลังคนภาคสถานศึกษาที่จัดการศึกษา (แผนการดำเนินงาน 15 – 31 กรกฎาคม 2567)
รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น Micro-Credentials จำนวน 20 หลักสูตร เพื่อสะสมหน่วยกิตการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามอุตสาหกรรมทั้ง 8 ด้าน (แผนการจัดประชุม 2 – 4 กันยายน 2567) และจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการศึกษาและแผนผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อรองรับวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ “IGNITETHAILAND” ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยจะได้แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการจัดการศึกษา จำนวน 1 ฉบับและแผนการผลิตและพัฒนากำลังคน 8 ด้าน
จากนั้นที่ประชุมรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และบุคลากรทางการศึกษา, คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการศึกษา “เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา” (Anywhere Anytime) จัดทำแพลตฟอร์ม และพัฒนาระบบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต, คณะอนุกรรมการจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) และส่งเสริมการมีรายได้ระหว่างเรียน (Learn to Earn), คณะอนุกรรมการจัดทำระบบการวัดผล เทียบระดับการศึกษา ประเมินผลการศึกษา และธนาคารเครดิตแห่งชาติ, คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนกฎหมายการศึกษา และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อรองรับวิสัยทัศน์ การพัฒนาประเทศ “IGNITE THAILAND” ของกระทรวงศึกษาธิการ
รมว.ศธ. กล่าวว่า ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ช่วยกันขับเคลื่อนงานทุกระยะจนเกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้อยากฝากหลักคิดในการทำงาน คือ “รู้เขา รู้เรา” ซึ่งในภาพรวมตอนนี้เรายังรู้ไม่สมบูรณ์ อาจจะต้องลงรายละเอียดเชิงปฏิบัติให้มากขึ้น เพื่อนำข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุดมาวางแผนขับเคลื่อนงานกันต่อไป
ปารัชญ์ ไชยเวช/ข่าว
พีรณัช ยุชยะทัต/ถ่ายภาพ
The post ‘เพิ่มพูน’ ฝากบอร์ดขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาฯ “รู้เขา รู้เรา” ลงรายละเอียดงานให้สมบูรณ์ appeared first on กระทรวงศึกษาธิการ.