ปิดฉากประชุมรัฐ
จังหวัดบุรีรัมย์, 26 ...
สรุปมติคณะรัฐมนตรี (18 มิถุนายน 2567) ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ เห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. …. (รวมถึงข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ) และคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี
เห็นชอบ ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างระเบียบ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบกับรายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เรื่อง การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอและให้สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยรายงานผลการศึกษาดังกล่าวมีข้อเสนอ สรุปได้ ดังนี้
การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิให้แตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของคุณวุฒิอื่น ๆ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุดังกล่าวภายในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ จะทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิ และปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 ครั้ง
การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ กค. โดยกรมบัญชีกลางเห็นควรพิจารณาปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูง ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท
กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และสอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชย ผู้ได้รับผลกระทบซึ่งเป็นไปตามกับมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1 กค. โดยกรมบัญชีกลางจึงได้ดำเนินการยกร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. …. โดยยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวม 6 ฉบับ และปรับปรุงบทอาศัยอำนาจโดยอาศัยอำนาจออกตามความในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถูกยกเลิกโดยผลของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 โดยยังคงหลักการเดิม และปรับอัตราเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว โดยการปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว สำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่งมีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึง 14,600 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเดือนละ 2,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 14,600 บาท และการปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว สำหรับข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ ซึ่งมีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท ให้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพิ่มขึ้นจากเงินเดือนหรือค่าจ้างอีกจนถึงเดือนละ 11,000 บาท สำหรับการปรับอัตราเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว สรุปได้ ดังนี้
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ผู้มีสิทธิได้รับ
เงินดือน/ค่าจ้าง
เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
รวม
วันที่ระเบียบมีผลใช้บังคับและวันเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการ
1. ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ขั้นสูง
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
ไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท (เดิม 13,285 บาท)
2,000 บาท (เท่าเดิม)
ไม่เกินเดือนละ 14,600 บาท (เดิม 13,285 บาท)
ขั้นต่ำ
ไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท (เดิม 10,000 บาท
ไม่จำกัด
ไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท (เดิม 10,000 บาท)
2. ลูกจ้างชั่วคราวที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท (เดิม 10,000 บาท
ไม่จำกัด
ไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท (เดิม 10,000 บาท)
3. ทหารกองประจำการซึ่งได้รับเงินเดือนในระดับ พ.1
ไม่ถึงเดือนละ 11,000 บาท (เดิม 10,000 บาท)
ไม่จำกัด
ไม่เกินเดือนละ 11,000 บาท (เดิม 10,000 บาท)
เห็นชอบ การแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 3 คณะ ดังนี้
1.คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รองประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย และประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยมี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
กำหนดนโยบาย กรอบและทิศทางการพัฒนาโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ในภาพรวม
เสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ให้บรรลุตามนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ในการดำเนินงานโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ได้ตามความเหมาะสม
2. คณะกรรมการบริหารโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รองประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี ประธานสภาคณบดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ผู้แทนสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทนสำนักงบประมาณ และผู้แทนสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
กำหนดหลักการ หลักเกณฑ์ ให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการดำเนินการโครงการ วมว. ระยะที่ 3
กำหนดแนวทางและกลไกการบริหารจัดการในภาพรวม เพื่อให้การดำเนินการของแต่ละมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมดำเนินงานโครงการ วมว. มีการจัดการหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงแนวทางและพัฒนากลไกบริหารจัดการ ให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตามความจำเป็น
ดำเนินการเรื่องอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
3. คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น
องค์ประกอบที่เสนอแต่งตั้งใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ปรึกษา นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รองประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น สำนักงานประเทศไทย ประธานหอการค้าญี่ปุ่น – กรุงเทพฯ และประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช รองศาสตราจารย์พินิติ รตะนานุกูล รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย รองศาสตราจารย์รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ และนายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ โดยมี ผู้อำนวยการโครงการสถาบันไทยโคเซ็น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางในการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
กำหนดแผนงานบริหารโครงการและงบประมาณในภาพรวมให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น
กำกับดูแลการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลโครงการสถาบันไทยโคเซ็น
ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับภาคการผลิตและภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น รวมทั้งมอบอำนาจให้คณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลดังกล่าว ทำการแทนแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ
ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มอบหมาย
The post มติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง มติ ครม. 18 (มิถุนายน 2567) ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ appeared first on กระทรวงศึกษาธิการ.