เสมา 1 ชื่นชม พสน.
22 มีนาคม 2567 / พลตำรวจเ...
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมประสานภารกิจกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 4/2568 เมื่อวันพุธที่ 29 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ซึ่งมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์ Zoom meeting ว่า ขอแสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ที่เห็นชอบให้ ศธ. โดย สพฐ. ดำเนินโครงการส่งเสริมการศึกษาเท่าเทียมด้วยระบบดิจิทัลพัฒนาทักษะะเครดิตtoพอร์ตโฟลิโอ งบประมาณ 4,214 ล้านบาท และเห็นชอบโครงการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา ระยะที่ 2 งบประมาณ 29,765 ล้านบาท โดยอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ 2569-2573) เพื่อดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว
นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบให้ ศธ. โดย สอศ. ดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้อาชีวศึกษาทุกที่ทุกเวลา งบประมาณ 3,302 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา 3,212 ล้านบาท และโครงการผลิตสื่อวิดีทัศน์หรือสื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษาอาชีวศึกษา 90,000 บาท โดยอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ระยะเวลา 4 ปี (ปีงบประมาณ 2569-2572) เพื่อดำเนินโครงการฯ เช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีความก้าวหน้าการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา PISA ของ สพฐ. ซึ่งได้จัดอบรมสร้างและพัฒนาข้อสอบวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่าน วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในระดับเขตพื้นที่แก่ผู้ที่ลงทะเบียนแล้ว จำนวน 134,994 คน และเตรียมสร้างความตระหนักแก่ผู้บริหารและครู และผู้ปกครองเกี่ยวกับการสอบ PISA ในเดือนพฤษภาคม 2568 และจะซ้อมสอบนักเรียน ม.2 ในระบบ PISA Style และนักเรียน ม.3 รูปแบบ PAPER ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้
สำหรับการวิเคราะห์สภาวะการศึกษาไทย ของ Thai Education Situation Analysis (TESA) DASHBOARD สภาการศึกษาได้นำเสนอแนวทางการลดช่องว่างทางการศึกษา ใน 2 ส่วนคือ 1. ปรับเปลี่ยนระบบการจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากร ที่ไม่ยึดติดกับจำนวนผู้เรียนเพียงอย่างเดียว ให้โรงเรียนทุกขนาด ทุกสังกัด ทุกพื้นที่ และทุกประเภทสามารถจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน 2. สร้างกลไก early warning เพื่อพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่ยังเล็ก และเน้นการประเมินผลในรูปแบบ Formative Assessment มากขึ้น และ 3. ส่งเสริมการเรียนรู้ในระบบ Peer learning ให้ทั้งผู้บริหารครูและนักเรียน ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสนับสนุนให้ครอบครัวมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการเรียนรู้ของบุตรหลาน
“ทั้งนี้ รมว.ศธ.ได้ฝากการบ้านให้แต่ละองค์กรหลักที่มีสถานศึกษา ช่วยกันเสนอแนะ ความต้องการในการจัดการศึกษาแต่ละสังกัด เพื่อให้สภาการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งนโยบายและโครงการของรัฐบาลด้านการศึกษา เช่น หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุนการศึกษา (โอดอส เดิม) ทุนการศึกษาภาคฤดูร้อน (1 อำเภอ 1 ซัมเมอร์แคมป์) และ หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ที่จะต้องเตรียมดำเนินการให้สอดคล้องกับบริบทของ ศธ. ต่อไป
สำหรับการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ (THAILAND Zero Dropout) ซึ่ง สกศ. รายงานผลการดำเนินงานการติดตามเด็กนอกระบบการศึกษาเชิงระบบ (Thailand Zero Dropout) ของ สพฐ. ในเขตพื้นที่ที่ค้นหาเด็กตกหล่นครบทั้ง 100% แล้ว ละในส่วนของ บุรีรัมย์ Zero Dropout model หลังจากติดตามผู้เรียนนอกระบบ ทั้ง 4,390 คนแล้ว ยังได้นำข้อมูลเด็กที่ค้นพบมาวิเคราะห์จัดกลุ่ม เพื่อวางแผนดำเนินงานต่อไปด้วย” รมช.ศธ.กล่าว
พิชญ์พิศุทธ์, นวรัตน์: สรุป
นวรัตน์ รามสูต: เรียบเรียง
พิชญ์พิศุทธ์ ทิมวัฒน์: ถ่ายภาพ/กราฟิก
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สร.ศธ.: รายงาน
29/1/2568