MOU Thai – Turkiye
Joint Plan of Action Thai-Turkiye The post MOU Thai –...
30 ตุลาคม 2567 – พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 6/2567 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาอนุญาตให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา จำนวน 41 ครอบครัว ผู้เรียน 44 ราย พร้อมรับทราบการยกเลิกการจัดการศึกษาพื้นฐานโดยครอบครัว ของ สพป.กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ระดับ ป.2-ป.4 จำนวน 5 ราย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ มีสาระสำคัญ ดังนี้
โรงเรียนปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า พื้นที่ กทม.
ที่ประชุมรับทราบการดำเนินงานของเครือข่ายครูเพื่อโรงเรียนปลอดบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับองค์กรภาคี อาทิ สพป.กทม. สพม.กทม. เขต 1 และเขต 2 สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร เพื่อยกระดับโรงเรียนในโครงการกว่า 405 แห่ง สู่การเป็น ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า และโรงเรียนต้นแบบปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประจำปี 2567 โดยมีโรงเรียนที่ผ่านการประเมินเพื่อรับรางวัล แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนปลอดบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ประจำปี 2567 : โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล สพม.กทม. เขต 1
โรงเรียนต้นแบบปลอดบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประจำปี 2567 จำนวน 19 แห่ง
แผนการศึกษาจังหวัด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568-2570
ที่ประชุมยังได้รับทราบการดำเนินการจัดทำแผนการศึกษาจังหวัด กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568-2570 ในกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม/ระดับการศึกษา (ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา และนอกระบบและตามอัธยาศัย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมวิเคราะห์และยืนยันการจัดลำดับจุดร่วม (Pain Point) ประเด็นปัญหาและข้อจำกัดในการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เพื่อนำผลสรุปไปใส่ไว้ในช่วงแรกของแผนระยะ 3 ปี (ภายในปี 2570) ที่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงในพื้นที่มากที่สุด ประกอบด้วย ปัญหา 3 ลำดับแรก ได้แก่ การขาดแคลนทรัพยากรและการสนับสนุน คุณภาพการสอนและพัฒนาครู และความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา ส่วนข้อจำกัด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านความเหลื่อมล้ำ ด้านทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา และด้านเทคโนโลยี
การแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลายเป็นศูนย์
รับทราบแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา ให้กลายเป็นศูนย์ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อนำเด็กฯ อายุ 6 – 15 ปี กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาภาคบังคับ ป.1 – ม.3 ภายใต้แนวคิด กรุงเทพเป็นหนึ่ง ได้แก่ การจัดทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน การส่งต่อเด็กผ่านระบบ Thailand Zero Dropout การค้นหาเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่ กทม. และช่วยเหลือส่งต่อและดูแลเด็กและเยาวชนเป็นรายบุคคล
การดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” สู่การปฏิบัติ ด้วยกระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม Five Steps : APDEK อาทิ การจัดทำสื่อออนไลน์ และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนนโยบาย เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime), การขับเคลื่อนโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ โครงการ 1 สถานศึกษา 1 วัดคู่พัฒนา, ระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของครูผู้สอน โดยเฉพาะในด้านการให้คาปรึกษา การดูแลสุขภาพจิต การเตรียมความพร้อมสาหรับตลาดแรงงาน, การจัดทำระบบวัดผลการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ผ่านโครงการพัฒนาทักษะและสมรรถนะวิชาชีพ พัฒนาระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ และพัฒนาหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.), การจัดทาระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษาและประเมินผลการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศไม่ต้องเสียเวลาในระบบ ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย, มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทา (Learn to Earn), การศึกษาเท่าเทียม, การนำเทคโนโลยีมาช่วยจัดการเรียนการสอน เช่น AI Coding เป็นต้น และการแก้ปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
สร.ศธ. : ภาพ / ข่าว
พบพร ผดุงพล / กราฟิก
The post รมว.ศธ. “เพิ่มพูน” ประชุม กศจ.กทม. ครั้งที่ 6/2567 หวังยกระดับคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย เรียนดี มีความสุข appeared first on กระทรวงศึกษาธิการ.